ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

A- A A+

นโยบายการกำกับดูแล

05-01-2015

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

     บริษัท ขนส่ง จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพและตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า
ภายใต้ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความน่าเชื่อถือ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย อยู่บนพื้นฐานของ
คุณธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรในระยะยาว รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

     คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีการบริหารจัดการที่ดีและยึดมั่น
ตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกำหนดโดยกระทรวงการคลัง จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณ
2553 ได้ประกาศนโยบายใหม่หลังจากได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักการ และแนวทางการกำกับดูแล
กิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ปี 2552 โดยมีสาระสำคัญคือ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ตระหนักถึงความสำคัญและ
มุ่งมั่นในการดำเนินงานโดยยึดหลักสำคัญในการกำกับดูแลที่ดี 7 ประการ คือ ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่
ความสำนึกในหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสุจริตและจะต้อง
พิจารณาให้เกิดความเท่าเทียมกัน ความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การสร้างมูลค่าเพิ่ม แก่กิจการ การส่งเสริมพัฒนาการกำกับดูแลและจรรยาบรรณที่ดีใน การประกอบ
ธุรกิจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ

โครงสร้างของคณะกรรมการ

     จำนวนกรรมการของบริษัท ขนส่ง จำกัด กำหนดให้มีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน11คน ตามหนังสือ
บริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท ขนส่ง จำกัด (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2527, 2548 และ2550) ข้อที่ 31,32,36 และ
37แต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้น และให้ผู้จัดการใหญ่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทฯ มีจำนวน 10 คน (ข้อมูล
ณ เดือนกันยายน 2553) ประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์การทำงาน จากหลากหลาย
วิชาชีพซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการ ของบริษัท ขนส่ง จำกัด เช่น ด้านบริหาร / รัฐศาสตร์ ด้านบัญชี / เศรษฐศาสตร์
และการเงิน ด้านกฏหมาย ด้านคมนาคมทางบก/โลจิสติกส์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์/การสื่อสารและเทคโนโลยี และด้านสังคม/
สิ่งแวดล้อม

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

     คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด ตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะกรรมการเท่าเทียมกันและเข้าใจเป็นอย่างดีถึง
หน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและลักษณะการดำเนินธุรกิจ ของบริษัท ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และรับผิดชอบ
ต่อการกระทำของตนในการวางนโยบายและกำหนดวิสัยทัศน์ พิจารณาทบทวนและให้ความเห็นชอบ แผนวิสาหกิจ กลยุทธ์
แผนงาน / โครงการงบประมาณประจำปี รับผิดชอบต่อผลประกอบการของบริษัท กำกับดูแลการดำเนินงานฝ่ายบริหาร
ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัท และสร้างประโยชน์สูงสุดในระยะยาว
ให้ความสำคัญต่อการยึดหลักในการปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ของบริษัท เพื่อให้การบริหาร และการกำกับดูแลกิจการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ และ
คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ รับผิดชอบในการกำกับดูแลและกลั่นกรองงานที่มีความสำคัญหรืองานที่ต้องการความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล การปฏิบัติงานที่สำคัญของคณะกรรมการ

ความเป็นอิสระและการถ่วงดุลของคณะกรรมการ

     คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด ประกอบด้วยกรรมการที่ป็นอิสระจากภายนอกจำนวน 4 คน จากจำนวน 10 คน
ที่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ไม่เป็นกรรมการบริหารหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันรัฐวิสาหกิจและ
เป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง โดยสามารถทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐหรือผู้ถือหุ้นทุกราย
อย่างเท่าเทียมกันและสามารถช่วยดูแลไม่ให้เกิดรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับบุคคลที่
เกี่ยวข้องกับตน

ระบบการตรวจสอบและควบคุมภายใน

     ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่าง คณะกรรมการกับฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน
โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และควบคุมดูแลกิจการบริษัท ขนส่ง จำกัด ตลอดจนติดตามผลการดำเนิน
งานและการประเมินผลงานผู้บริหาร ส่วนผู้บริหารมีหน้าที่บริหารและควบคุมดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด เช่น การติดตามกำกับดูแลระบบงานต่างๆ โดยเฉพาะระบบงานที่
สำคัญ 4 ระบบงาน ได้แก่ การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน การบริหารจัดการสารสนเทศ
และการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยให้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกไตรมาสเพื่อจะได้รับทราบ
และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริหารงานให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

การตรวจสอบภายใน

     จัดให้มีการตรวจสอบภายในซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีภารกิจในการให้คำแนะนำ
ปรึกษาและให้ความเชื่อมั่น อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าและปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยทำการประเมินและปรับปรุงความมีประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารความเสี่ยง ระบบ
การควบคุมภายในและกระบวนการกำกับดูแลที่ดีขององค์กรโดยใช้วิธีการอย่างเป็นระบบและมีแบบแผนการปฏิบัติงานของ
สำนักตรวจสอบภายใน มีการปฏิบัติเป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปี 2553 และได้ดำเนินการตามกฎบัตรของ
คณะกรรมการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลประเมิน
ความเสี่ยงองค์กร และมีการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบในบริษัทฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
บริษัท ขนส่ง จำกัด เป็นประจำทุกไตรมาส

การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน

     มีการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ทั้งในระดับองค์กร และระดับหน่วยงาน ในระดับองค์กร มีการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่กำหนดแนวนโยบายและติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหาร
ความเสี่ยงองค์กร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ ดำเนินการพิจารณาและกำหนด
แนวทางและตอบสนองความเสี่ยง และกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามที่กำหนด โดยมีกองบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามแผนบริหารความเสี่ยง ส่วนในระดับหน่วยงาน กำหนดให้ทุกหน่วยงานดำเนินการจัดวาง
ระบบ การควบคุมภายในตามมาตรฐานตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีคณะทำงานบริหารความเสี่ยง
และควบคุมภายใน ระดับหน่วยงานย่อย กำกับดูแล และติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
มีความเชื่อมโยงกัน และพนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

การบริหารจัดการสารสนเทศ

     กำหนดให้กองเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการสนับสนุนการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน
ในบริษัทฯ ด้านบริหารจัดการสารสนเทศ พัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย เพื่อให้ทุกหน่วยงาน
ของบริษัทฯ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทันสมัยในการปฏิบัติงาน และแต่งตั้ง
คณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด พ.ศ. 2551- 2554 (โครงการต่อเนื่อง)
และสนับสนุนการจัดการสารสนเทศบริษัทฯ ให้ความทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการใช้งาน และกำหนดนโยบาย
ทิศทางการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขององค์กรอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
ในปีงบประมาณ 2553 บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้มีปรับปรุงและทบทวนแผนแม่บทสารสนเทศของบริษัท และให้มี
การติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จากรายงานที่นำเสนอต่อที่ประชุม
คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกไตรมาส นอกจากนี้ บริษัทยังได้ดำเนินการ Implement ระบบสารสนเทศเพื่อ
การเดินรถและจัดการเดินรถ และระบบจองสำรองที่นั่ง และจำหน่ายตั๋วด้วยคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ให้พร้อมใช้งาน พร้อมทั้ง
ได้อนุมัติงบลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์กระจายสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Edge Switch) พร้อมการติดตั้ง

การบริหารทรัพยากรบุคคล

     ได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2553 ซึ่งได้จัดทำภายใต้โครงการจัดทำ
แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2553 – 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจ ของบริษัทฯ ที่ปรับปรุง
ใหม่ ระหว่างปี 2553 – 2557 โดยถ่ายทอดมาจากแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ประจำปี 2553 – 2557 จำนวน 8 ข้อ ดังนี้
          1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอัตรากำลัง และค่าใช้จ่ายบุคลากร
          2. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ใหม่
          3. พัฒนาระบบเครือข่ายองค์ความรู้ (KM) เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
          4. พัฒนาระบบผลการปฏิบัติงาน และประเมินศักยภาพ
          5. ปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้างและระบบบริหารค่าจ้างให้มีประสิทธิภาพ ในการสร้างแรงจูงใจมากขึ้น
          6. จัดทำแผนการทดแทนตำแหน่งงาน และพัฒนาความพร้อมของผู้บริหาร รุ่นใหม่
          7. พัฒนาวัฒนธรรม “การบริการที่เป็นเลิศ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจ
          8. ปรับบทบาทของผู้บริหารทุกสายงานให้เป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
     สำหรับโครงการพัฒนาความสามารถบุคลากร (โครงการต่อเนื่องเป็นประจำ ทุกปี) มีการดำเนินการจัดฝึกอบรม
พนักงานทั้งหลักสูตรภายใน (In – House Training ) จำนวน 26 หลักสูตร และหลักสูตรภายนอกได้จัดส่งพนักงานไปอบรม
และสัมมนา ณ สถาบันภายนอก (Public – Training) จำนวน 34 หลักสูตร เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรทุกระดับ
ให้มีทักษะความสามารถเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมายอย่างประสบผลสำเร็จ โดยสอดคล้องกับ
วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์องค์กรได้เป็นอย่างดี

การประชุมคณะกรรมการ

     คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันพฤหัสบดี
สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน โดยมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าตลอดปีปฏิทิน เพื่อให้กรรมการสามารถจัดสรรเวลา และเข้าร่วมประชุม
ได้อย่างครบถ้วน แต่หากมีเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วน อาจขออนุญาตประธานกรรมการเพื่อเรียก
ประชุมคณะกรรมการเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 ได้มีการประชุมคณะกรรมการ
บริษัทฯ จำนวน 12 ครั้ง ประธานกรรมการ จะเป็นผู้พิจารณากำหนดวาระการประชุม โดยก่อนการประชุมเลขานุการ
คณะกรรมการบริษัทฯ จะส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารการประชุม ให้กรรมการแต่ละท่าน
ทราบเป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้กรรมการมีเวลาเพียงพอในการศึกษาเอกสารและรายละเอียด
ต่าง ๆ ที่บริษัทฯนำเสนอก่อนการประชุม ทั้งนี้ ในการประชุมทุกครั้งกรรมการแต่ละท่านได้เสนอความคิดเห็นอย่างเปิดเผย
และเสรี มีการบันทึกรายงายการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บรายงานการประชุมที่คณะกรรมการรับรองแล้ว เพื่อ
ให้กรรมการและผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ รวมทั้งได้ส่งสำเนารายงานการประชุมให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับทราบเป็นประจำทุกเดือน

     นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้อนุญาตให้ผู้บริหารระดับ รองผู้จัดการใหญ่ และผู้อำนวยการ
สำนักตรวจสอบภายใน เข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อให้ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ ตลอดจน
รับนโยบายโดยตรงเพื่อจะได้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

การแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ

     คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองกระบวนงาน
ที่สำคัญแทน เพื่อความรอบคอบและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย
โดยรวม และนำผลการพิจารณากลั่นกรองเสนอคณะกรรมการบริษัท โดยมีคณะกรรมการชุดย่อย จำนวน 11 คณะ ดังนี้
          1. คณะกรรมการตรวจสอบ
          2. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี
          3. คณะอนุกรรมการกำกับกลยุทธ์และการบริหาร
          4. คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
          5. คณะอนุกรรมการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
          6. คณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานผู้จัดการใหญ่
          7. คณะอนุกรรมการกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ
          8. คณะอนุกรรมการพิจารณาการจัดการเดินรถ
          9. คณะอนุกรรมการศึกษาปัญหาและวิธีเร่งรัดหนี้สิน
          10. คณะกรรมการตามระเบียบพนักงาน พุทธศักราช 2532 ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานและเลื่อนอันดับเงินเดือน
          11. คณะกรรมการกิจสัมพันธ์
     โดยมีรายละเอียดองค์ประกอบ ขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการแต่ละคณะ ในหน้าที่ 81 ของ
รายงานประจำปี

การประเมินผลคณะกรรมการ

     คณะกรรมการบริษัท ได้ทำการประเมินตนเอง ทั้งการประเมินตนเองรายบุคคลการประเมินไขว้ และการประเมิน
คณะกรรมการทั้งคณะ จำนวน 2 ครั้ง ประเมินครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2553 และครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อ
ให้คณะกรรมการได้พิจารณาผลงาน ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน เพื่อนำผลการประเมินของคณะกรรมการบริษัท
มาปรับปรุง การปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ขึ้นในปีต่อไป ซึ่งผลการประเมินประจำปี 2553 ทั้ง 3 แบบ ซึ่งได้ ผลการประเมิน
อยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดีเยี่ยม โดยในแต่ละแบบประเมินฯ มีค่าคะแนนมากกว่าร้อยละ 80.00 ได้แก่ ประเมินตนเอง
รายบุคคลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.77 ประเมินไขว้ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.37 และประเมินรายคณะคะแนนเฉลี่ยร้อยละ
98.68 โดยมีความสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ
รัฐวิสาหกิจ

     ค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ ที่คณะกรรมการบริษัท
ขนส่ง จำกัด แต่งตั้งขึ้น กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูง

นโยบายการกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการบริษัทฯ

     บริษัท ขนส่ง จำกัด จ่ายค่าตอบแทนกรรมการเป็นสองส่วนได้แก่
เบี้ยประชุม บริษัทฯจ่ายค่าตอบแทนให้คณะกรรมการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
เห็นชอบการปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ ในอัตราคงที่เหมาจ่ายเป็นรายเดือน (เบิกจ่ายเฉพาะเดือน
ที่มีการประชุม) ประธานกรรมการได้รับ 10,000 บาท รองประธานกรรมการ 9,000 บาท กรรมการ 8,000 บาท
โบนัส บริษัทฯ จ่ายโบนัสให้คณะกรรมการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 เรื่องโบนัสกรรมการ
รัฐวิสาหกิจ โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 3 ของกำไรสุทธินำมาคำนวณโบนัส แต่ไม่เกินคนละ 60,000 บาท และจำนวน
ครั้งที่เข้าประชุมส่วนที่เพิ่มเป็นไปตามอัตราก้าวหน้าของกำไรสุทธิและผลการประเมินองค์กร ตามผลงานตาม
ระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการบริษัทฯ แต่งตั้ง
คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ ที่เป็นกรรมการบริษัทฯ มีการเบิกจ่ายเฉพาะเดือนที่มีการประชุม โดยได้รับเบี้ย
ประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ในอัตราเดียวกับหลักการเบี้ยกรรมการ การแต่งตั้งเป็นกรรมการ/อนุกรรมการมากกว่า
1 คณะ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงคณะเดียวเท่านั้น
สำหรับคณะอนุกรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สูงสุดไม่เกินครั้งละ
1,000 บาท เฉพาะครั้งที่มาประชุม

กรรมการผู้จัดการใหญ่และการกำหนดค่าตอบแทน

     กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด มาจากการสรรหา โดยมีสัญญาจ้างคราวละไม่เกิน 4 ปี ได้รับค่าตอบแทน
ตามที่คณะกรรมการพิจารณา ตามความรู้ความสามารถ ภาระหน้าที่รับผิดชอบและความสามารถในการจ่ายขององค์กร
ภายใต้กรอบอัตราค่าตอบแทน ที่กำหนดตามสัญญาจ้าง กำหนดให้มีการประเมินผลงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปีละ 2 ครั้ง
แล้วนำผลการประเมินมาเชื่อมโยงกับการจ่ายค่าตอบแทนคงที่ และค่าตอบแทนผันแปรตอนสิ้นปี คณะกรรมการ บริษัท
ขนส่ง จำกัด ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้จัดการใหญ่ เป็นผู้จัดทำหลักเกณฑ์ การประเมิน
และพิจารณาร่วมกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อขอความเห็นชอบทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งการประเมินผลงานของ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด พิจารณา
กรรมการผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบัน (สัญญาจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2550 – วันที่ 31 สิงหาคม 2554) ซึ่งจาก
ผลการดำเนินงานในปี 2552 กระทรวงการคลัง ได้แจ้งผลการประเมินการดำเนินงานของบริษัทฯ มีค่าอยู่ในระดับที่ 4.1051

     เป็นผลทำให้ค่าคะแนนรวมกรรมการ ผู้จัดการใหญ่มีคะแนนรวม 4.4825 คิดเป็นร้อยละ 88.95 (เป็นผลการประเมินอยู่ใน
ระดับดีมาก) บริษัทฯ ได้ปรับค่าตอบแทนคงที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นเดือนละ 261,516 บาท และ ค่าตอบแทนผันแปร
ตามหลักเกณฑ์และผลการดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างดังกล่าว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 นอกจากนี้ยังได้รับ
สิทธิประโยชน์อื่นตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้าง

ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง (รองผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่)

     บริษัท ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงไว้ล่วงหน้าในช่วงต้นปี และ
นำผลการปฏบิ ัตงิ านไปเชือ่ มโยงกับการกำหนดคา่ ตอบแทน หรือแรงจงู ใจที่ผ้บู ริหารไดรั้บตามคา่ คะแนน ไปเปรียบเทยี บกับ
เกณฑ์การประเมิน โดยใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน (58 ขั้น) ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และตามระเบียบ
พนักงานบริษัท ขนส่ง จำกัด พ.ศ. 2542 (แก้ไข พ.ศ. 2543) หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างพนักงานประจำปี
โดยค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับรองผู้จัดการใหญ่ ได้รับสูงสุดไม่เกิน 95,810 บาท และระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ได้รับ
สูงสุดไม่เกิน 87,970 บาท นอกจากนี้ยังมี ค่าตอบแทนอื่น ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ได้แก่ เงินโบนัส รถยนต์ประจำ
ตำแหน่ง รวมทั้งสวัสดิการอื่นตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ขนส่ง จำกัด

การส่งเสริมและให้ความรู้แก่คณะกรรมการ

     บริษัท ได้จัดให้มีกิจกรรมสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถสำหรับกรรมการใหม่ที่เริ่มปฏิบัติงานใน
ปีงบประมาณ 2553 ตั้งแต่วันที่ได้รับตำแหน่ง โดยบริษัทฯได้เนินการดังนี้
     1. การจัดส่งเอกสารสำหรับกรรมการใหม่
          1. 1 CD ข้อมูลบริษัท ขนส่ง จำกัด จำนวน 1 แผ่น ประกอบด้วย
               หนังสือบริณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท ขนส่ง จำกัด
               แนวทางปฏิบัติสำหรับกรรมการรัฐวิสาหกิจ
               แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2553
               งบประมาณรายได้ – รายจ่ายงบประมาณลงทุน ประจำปี 2553
               วิดีทัศน์แนะนำองค์กร
               ทำเนียบผู้บริหารระดับผู้อำนวยการกองขึ้นไป
          1.2 คู่มือคณะกรรมการ บริษัท ขนส่ง จำกัด จำนวน 1 เล่ม
          1.3 ระเบียบบริษัท ขนส่ง จำกัด จำนวน 1 เล่ม
นอกจากนี้แล้ว ก่อนการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งแรกของกรรมการที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ กรรมการใหม่ได้
เข้าหารือกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับบริษัท เพิ่มเติม
     2. การบรรยายหรือชี้แจงให้กับกรรมการใหม่ เลขานุการของกรรมการ/คณะอนุกรรมการ แต่ละชุด ได้จัดบรรยาย
สรุปเกี่ยวกับหน้าที่ ภารกิจ ความคืบหน้าในการดำเนินงานของบริษัท ที่ได้รับการแต่งตั้งในการประชุมครั้งของคณะกรรมการ/
คณะอนุกรรมการ ไว้ในคราวเดียวกัน
     3. จัดให้มีกิจกรรมเยี่ยมชม ดูงาน ในการปฏิบัติงานจริง ประจำปี 2553 จำนวน 1 ครั้ง ณ สถานีเดินรถจังหวัด
เชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 165 - 167 ถ. แก้วนวรัฐ ต. วัดเกต อ.เมือง จ. เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธุรกิจขององค์กรยิ่งขึ้น

1a

 

     4. การเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ ประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม
2553 เพื่อศึกษาดูงาน ณ Nobina Bus Denmark (ชื่อเดิม Concodia Bus), Oslo Bus Terminal โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เป็นการส่งเสริมความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจการเดินรถโดยสารของบริษัทฯ จากการศึกษา/ดูงาน/สัมมนา ภายในประเทศ
แล้ว การไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเดินรถและการบริหารจัดการเดินรถในต่างประเทศ ยังเป็นการพัฒนาตนเองของ
คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ได้มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อปรับใช้ในธุรกิจการเดินรถของบริษัทฯ
ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อไป

2a

 

การศึกษาอบรม หลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่

รายชื่อกรรมการ หลักสูตร
1. นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 10 สถาบันวิทยาการตลาดทุน
2. นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 10 สถาบันวิทยาการตลาดทุน
3. พล.ต.ต.ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย หลักสูตร การกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 4
สถาบันพัฒนากรรมการและผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ (PDI)
4. ผศ.ดร.อรนุช สูงสว่าง หลักสูตร TOP 10 GOVERNANCE PRIORITIES : KPMG IN THAILAND
  หลักสูตร บทบาทของกรรมการรัฐวิสาหกิจกับการสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  หลักสูตร MONITORING THE INTERNAL AUDIT FUNCTION สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  หลักสูตร SHAREHOLDERS’ QUESTIONS AND TEN – TO – DO’S FOR AUDIT COMMITTEE IN 2010 :
KPMG IN THAILAND
  หลักสูตร AUDIT COMMITTEE SELF ASSESSMENT : KPMG IN THAILAND
  หลักสูตร ธรรมาภิบาลกับความสามารถในการแข่งขันรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  หลักสูตร AUDIT COMMITTEE กับรัฐวิสาหกิจสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
5. นายทวีศักดิ์ ธรรมนพวงศ์ หลักสูตร การกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 4
สถาบันพัฒนากรรมการและผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ (PDI)
6. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร หลักสูตร ธรรมาภิบาลกับความสามารถในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

 

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

     บริษัท ขนส่ง จำกัด ให้ความสำคัญในการป้องกันและขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of interest)
ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อให้กรรมการ และผู้ปฏิบัติงาน
ทุกคนยึดถือเป็นหลักการว่า ในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ จะต้องทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ เป็นสำคัญ และกำหนด
ให้กรรมการทุกคนต้องรายงานประวัติและรายละเอียดของตนเองในหนังสือรับรองและประวัติของกรรมการ ต้องหลีกเลี่ยง
การเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่บริษัท ขนส่ง จำกัด ถืออยู่ รวมทั้งการกำหนดมาตรการ
ป้องกัน ควบคุมและตรวจสอบการกระทำ ของสำนักตรวจสอบภายในเพื่อสอดส่องดูแลและตรวจสอบปัญหาความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

     ทั้งนี้ บริษัท ได้ให้คณะกรรมการพิจารณา/หรือเป็นตัวแทนของบริษัท ในการทำนิติกรรมกับบริษัทร่วมค้า จัดทำแบบ
รายงานเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามระบบควบคุมภายในที่ดี และสอดคล้องกับ
นโยบายการกับกำดูแลกิจการที่ดีและลดโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ของบริษัท

 

จริยธรรมและจรรยาบรรณ

     คณะกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้ออกระเบียบบริษัท ขนส่ง จำกัด ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของกรรมการและ
พนักงาน พ.ศ. 2553 และได้ดำเนินการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณของบริษัทฯ เมื่อวันที่
21 เมษายน 2553 เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของกรรมการและผู้ปฏิบัติงานของบริษัททุกคน ในการแสดง
เจตนารมณ์ของการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และให้เป็นนโยบายสำคัญ
ที่ต้องประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ได้มีการเผยแพร่เป็นประกาศเวียนและผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท
www.transport.co.th

     ในปีงบประมาณ 2553 บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้
          1. จัดกิจกรรมโครงการประกวดคำขวัญจรรยาบรรณของพนักงานบริษัท ขนส่ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน
ให้พนักงานมีความเข้าใจ มีส่วนร่วมในเรื่องธรรมาภิบาล และรณรงค์ สร้างจิตสำนึกและกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติตาม
จรรยาบรรณของบริษัท โดยมีพนักงานให้ความสนใจส่งคำขวัญเข้าร่วมประกวด จำนวน 237 สำนวน โดยมีคำขวัญฯ ที่ได้รับ
รางวัลชนะเลิศ คือ “เต็มจิตบริการ ผลงานโปร่งใส สุขใจธรรมาภิบาล มุ่งทำงานเพื่อ บริษัท ขนส่ง จำกัด” โดย
นางสาววรรษมนต์ วสุธนพิทักษ์ นายสถานีเดินรถสตึก กองปฏิบัติการเดินรถภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

3a

 

          2. กองพัฒนาทรัพยากรบุคคล ร่วมกับกองบริหารกลาง จัดฝึกอบรมพนักงาน ขับรถโดยสาร หลักสูตรปฐมนิเทศ
พนักงานขับรถโดยสารใหม่ เรื่อง การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 87 คน ระหว่างวันที่ 24 – 25
กุมภาพันธ์ 2553 และ หลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานประจำสำนักงาน เรื่อง การปฏิบัติงานตามหน้าที่ ด้วยหลักธรรมาภิบาล
จำนวน 53 คน ระหว่างวันที่ 2 – 26 มิถุนายน 2553

          3. ผู้อำนวยการกองบริหารกลาง เป็นวิทยากรบรรยายใน โครงการฝึกอบรม หลักสูตร เตรียมหัวหน้างานสายช่าง
เรื่อง การกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ และจริยธรรม – จรรยาบรรณ สำหรับ ผู้บริหาร จำนวน 19 คน เมื่อวันที่
6 กรกฎาคม 2553

4a
 

การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

     บริษัท ขนส่ง จำกัด ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียตามที่กฏหมายกำหนดประสานผลประโยชน์ของ
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อให้เกิดดุลยภาพ ที่เหมาะสม ดังนี้
          ผู้ถือหุ้น บริษัทได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและถือปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมกำหนด
          ผู้ใช้บริการและประชาชน บริษัทเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการและประชาชนด้วยการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ
ในระดับมาตรฐาน พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรักษาสัมพันธภาพที่ดีและ
ยั่งยืน จัดระบบเพื่อให้ผู้ใช้บริการและประชาชนสามารถร้องเรียนหรือให้ข้อเสนอะแนะเกี่ยวกับการให้บริการเพื่อนำมาดำเนิน
การแก้ไขปรับปรุงให้ผู้ใช้บริการและประชาชนได้รับความพึงพอใจและประทับใจ
          คู่ค้า/คู่แข่งทางการค้า/เจ้าหนี้ทางการค้า บริษัทคำนึงถึงความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจ โดยต้องปฏิบัติตาม
เงื่อนไข ที่มีต่อคู่ค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ทางการค้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงการดูแลมิให้มีการเรียกหรือรับหรือจ่าย
ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้าและหรือเจ้าหนี้ ลูกหนี้
กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามเงื่อนไขได้จะรีบแจ้ง คู่ค้า/คู่แข่งทางการค้า/เจ้าหนี้ทางการค้า ทราบล่วงหน้า รวมทั้งให้
ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันทุกราย หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาให้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา
          พนักงาน บริษัทให้ความสำคัญต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของพนักงานโดยกำหนดโครงสร้างผลตอบแทนที่
เหมาะสมและเป็นธรรมต่อการทำงาน ดูแลและส่งเสริม ความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถ ใช้หลัก
คุณธรรมและความเป็นธรรม ในการพิจารณาให้รางวัลหรือลงโทษ ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนา
ความรู้ความสามารถเพิ่มเติมอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและ
ทรัพย์สิน
          สังคม / สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการใช้และอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม รวมถึงปลูกฝังจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานทุกระดับ
อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน